- Admin
- 12 JUNE 2024
เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย พามารู้จัก ประกันสังคม ให้มากยิ่งขึ้น!
เรื่องที่คนวัยทำงานน่าจะทราบกันดีก็คือ "ประกันสังคม" ในยุคที่คนเราต่างต้องเผชิญความเสี่ยงอยู่เสมอ การมีประกันสังคมเปรียบเสมือนเกราะชั้นแรกที่จะช่วยคุ้มครองให้กับเรายามเกิดปัญหา หลายๆท่านคงสงสัยว่าประกันสังคมคืออะไร? วันนี้ทางเราบุคคล .com จะมาคลายข้อสงสัยให้กับทุกคนกัน จะมีเนื้อหาอะไรกันบ้าง ไปดูกันเลย!
ประกันสังคมคืออะไร
กล่าวให้เข้าใจง่ายที่สุด ประกันสังคม ก็คือ กองทุนที่ผู้ประกันตนจะจ่ายเงินสมทบเข้ามาทุกเดือน เพื่อเอามาใช้เป็นหลักในการดำรงชีวิต โดยจะได้สิทธิ์ต่างๆมากมาย เช่น สิทธิ์ในการรักษาพญยาบาล เงินชดเชยว่างงาน เงินเกษียณอายุ จะบอกว่าเป็นเครื่องมือที่รัฐใช้ในการออมภาคบังคับก็ว่าได้
เรื่องที่ 1 ทำความเข้าใจกับมาตราประกันตนแบบต่างๆ
* มาตรา 33 น่าจะเป็นตัวที่คนทำงานคุ้นเคยกันดี เพราะผู้ประกันตนในมาตรานี้ก็คือคนที่ทำงานกินเงินเดือน ที่ทำงานในบริษัทต่างๆนั่นเอง
* มาตรา 39 สำหรับมาตรานี้ก็คือสำหรับคนที่เคยทำงานมาก่อน ตอนหลังลาออกแล้วยังต้องการส่งประกันสังคมต่อไป คนที่จะเข้ามาตรานี้ได้นั้น ต้องเคยเป็นผู้ประกันตนในมาตรา 33 ไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานมาอย่างน้อย 6 เดือน นั่นเอง
* มาตรา 40 หรือเรียกอีกอย่างว่าผู้ประกันตนอิสระเป็นผู้ประกันที่ไม่เข้าข่าย 33 และ 39 และผู้ประกันตนในมาตรานี้ก็จะมีทางเลือกในการส่งเงินสมทบแตกต่างออกไป
เรื่องที่ 2 การส่งเงินสมทบประกันสังคม
เงินสมทบประกันสังคม คือ เงินที่นายจ้าง และลูกจ้างตกลงที่จะนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม โดยเป็นการส่งเงินทุกเดือน การคำนวณเงินที่จะส่งก็จะคิดจากอัตราเงินค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับ ในอัตรา 5% โดยคิดจากเงินเดือน และส่งสูงสุดต่อเดือนไม่เกิน 750 บาท ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือน 10,000 บาท ก็จะถูกหักที่ 5% ก็จะคือ 500 บาท
การหักเงินประกันสังคมนอกจากจะหักจากเงินเดือนเราแล้ว นายจ้างเองนั้นก็จะสมทบที่ 5% อัตราเดียวกับเรา และรัฐบาลเองก็ร่วมสมทบด้วยในอัตรา 2.75 และในเงินสมทบที่เราส่งเข้ากองทุนในแต่ละเดือนนั้นก็จะมีแยกย่อยไปอีกว่า ใน 5% นั้นโดนเอาไปทำอะไรบ้าง 3% ประกันชราภาพ 1.5% ประกันเจ็บป่วย และ 0.5% สำหรับประกันว่างงาน
เรื่องที่ 3 สิทธิ์กรณีเจ็บป่วย
ประกันสังคมยังมีในเรื่องของสิทธิ์รักษาพญาบาลด้วย โดยมีเงื่อนไขคือ ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน การรักษาก็จะต้องไปตามโรงพยาบาลที่เลือกไว้ในโดยไว้เสียค่าใช้จ่าย ยกเว้นในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุฉุกเฉิน อาจจะต้องสำรองจ่ายก่อนแล้วนำหลักฐานมาเบิกคืนที่หลัง และยังมีประกันในการรักษาฟัน 900 บาท/ปี นอกจากนี้ยังมี 14 โรคที่ประกันสังคมไม่คุ้มครองที่ทุกคนต้องเช็คสิทธิ์ กันก่อน
เรื่องที่ 4 เงินคืนยามเกษียณ
เงินคืนการเกษียณจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ โดยขึ้นอยู่กับ เดือนที่ส่งสมทบ อายุ สถานะผู้ประกันตร
กรณีแรก – เมื่อผู้ประกันตนส่งสมทบเกินกว่า 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ เมื่อความเป็นผู้ประกันสิ้นสุด ก็จะได้เงินเกษียณออกมาเป็นรายเดือนแทน สำหรับจำนวนเงินที่จะได้รับนั้นก็ขึ้นอยู่กับจำนวนปีที่ส่งเริ่มที่ 20% คิดจากเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (คิดสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) และทุกๆ 12 เดือนจะได้เปอร์เซ็นเงินคืนเพิ่มขึ้นอีกปีละ 1.5 % ตัวอย่างเช่นหากนาย A ได้รับเงินเดือน 60 เดือนสุดท้ายเฉลี่ยที่ 30,000 บาท
- หากส่งสมทบมา 15 ปี จะได้รับเงินคืน 20% x 15,000 = 3000 บาทต่อเดือน
- หากส่ง 20 ปี ได้รับเงินคืน 20%+(1.5*5)% x 15,000 =4,125 บาทต่อเดือน
กรณีที่ 2 - จ่ายมากกว่า 12 เดือน แต่ไม่เกิน 180 เดือน และมีอายุครบ 55 ปีเมื่อสถานะประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินเท่ากับเงินสมทบตนเอง + ส่วนของนายจ้างและผลประโยชน์ตอบแทนที่เกิดจากประกันสังคมนำเงินไปลงทุนนั่นเอง
กรณีที่ 3 – จ่ายสมทบน้อยกว่า 12 เดือน และมีอายุครบ 55ปีเมื่อสถานะประกันตนสิ้นสุดลง จะได้รับเงินคืนเท่ากับเงินส่วนที่ตนเองจ่ายสมทบไป
เรื่องที่ 5 สิทธิ์อื่นๆ
นอกจากนี้ประกันสังคมยังมีสิทธิ์อื่นๆ เช่น สิทธิในการคลอดบุตร สิทธิ์กรณีเสียชีวิตหรือพิการ สิทธิ์ในการสงเคราะห์บุตร สิทธิ์กรณีว่างงาน เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าในแต่ละเดือนที่เราส่งประกันสังคมไปนั้น ไม่ได้จ่ายไปโดยไม่ได้รับผลตอบแทนอะไรกลับมาเลย แต่กลับกัน กลับได้ผลตอบแทนกลับมาอย่างคุ้มค่า เมื่อรู้เช่นนี้แล้วหวังว่าทุกท่านที่โดนหักประกันสังคมในแต่ละเดือนจะไม่ต้องเซ็งอีกแล้ว